เอาล่ะ !! แนะนำตัวกันไปแล้ว ทีนี้ก็มาเริ่มต้นเรื่องกันเลย
ปลาหางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters มีชื่อสามัญว่า Guppy เป็นปลาออกลูกเป็นตัว และมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด และน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ โดยปกติ ปลาตัวผู้มีขนาด 3 -5 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาด 5 -7 เซนติเมตร ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม(Fancy guppies) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมือง ( Wild guppies) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ลักษณะเด่นที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัวและลวดลายบนครีบหางและรูปแบบของครีบหาง ซึ่งในการเรียกสายพันธุ์ต่างๆ จะถูกตั้งชื่อตามลักษณะ ดังกล่าว
ปลาหางนกยูงที่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงกันมาก มีอยู่ 5 สายพันธ์ ได้แก่ cobra. ,tuxedo , mosaic , grass , sword tail พันธ์เหล่านี้ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะสวยงาม หางสีสวย ครีบหางใหญ่เวลาว่ายจะแพนหาง และที่สำคัญมีลวดลายสีสวยตรงตามสายพันธุ์
ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง ( ไว้ใช้กับการเลือกซื้อ และการคัดพันธุ์ )
ลักษณะลำตัว -> มีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ
ลักษณะครีบ -> ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับสีและลวดลาย -> ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจน
ความสมบูรณ์ของลำตัว -> ทรงตัวปกติ ไม่อ้วนผอมจนเกินไปปลาหางนกยูงชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemaia) หรือหนอนแดง(Chironomus) หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป เมื่อลูกปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1- 1 1/2 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง เมื่อปลามีอายุครับ 3 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้
การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
น้ำที่ใช้เลี้ยง ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด – ด่าง (pH ) เป็นกลาง
อุณหภูมิน้ำ 25 –29 ? C ควรมีน้ำไหลหมุนเวียนตลอดเวลา ( เวลาเปลี่ยนน้ำควรตั้งทิ้งไว้ก่อนเป็นเวลา 1 วันหรือมากกว่านั้น เพื่อให้ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศละลายในน้ำ ถ้าไม่ทำปลาอาจ shock แล้วตายได้ )
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียเพื่อทำการผสม ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวมีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ โคนหางใหญ่ แข็งแรง ครีบสมบูรณ์ ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด รูปร่างได้สัดส่วน แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม เพศผู้จะมีลักษณะต่างจากเพศเมียตรงที่อวัยวะในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopodium ซึ่งดัดแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมีย ควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่ลักษณะไม่แปรปรวนมากในการผสมพันธุ์ หากจำเป็นต้องเก็บลูกปลาที่เพาะไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในครั้งต่อไป ควรหาพ่อแม่ปลาจากแหล่งอื่นมาผสมบ้าง เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด (Inbreeding) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกปลารุ่นต่อๆ ไป มีความอ่อนแอ สีไม่สวยและมีอัตราการรอดต่ำ
รูปแสดงอวัยวะสืบพันธ์ของปลาหางนกยูงตัวเมีย
การเลือกซื้อปลา
เมื่อได้ปลามาแล้ว ควรจะมีการปรับอุณหภูมิน้ำเก่ากับน้ำใหม่ให้ใกล้เคียงกัน ก่อนปล่อยปลาลงตู้ ป้องกันปลาช็อคน้ำ โดยลอยถุงปลาที่เพิ่งซื้อมาไว้ในตู้ที่เตรียมน้ำไว้แล้วสัก 15-30 นาที พร้อมทั้งปรับสภาพน้ำ โดยใส่เกลือทะเลเม็ดใหญ่ๆ ลงไปด้วย (ตู้ขนาด 16 นิ้ว น้ำ 20 ลิตร ใส่เกลือ 1 ช้อนโต๊ะพูนๆ) เนื่องจากปลาหางนกยูงชอบน้ำกร่อย และความหนาแน่นของน้ำที่มีเกลือผสมอยู่ จะช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดได้ ควรแยกเลี้ยงปลาที่เพิ่งได้มาใหม่ อย่าเพิ่งปล่อยรวมกับปลาเก่าที่เลี้ยงอยู่ เพราะปลาที่คุณได้มาใหม่ อาจนำเชื้อโรคมาติดปลาเก่าที่คุณเลี้ยงอยู่ก่อนก็เป็นได้ครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.fisheries.go.th
http://www.bloggang.com
ดีจังเลยนะครับ มีการขีดตัวแดงๆด้วย
ตอบลบมีแต่ไปกอปเค้ามา ไม่เขียนเองเลย-*- ของเราเขียนเองหมดเลย555
ตอบลบดีๆ มาก ๆ
ตอบลบเนื้อหาเยอะๆ ดี คริๆ
แระก้มีเน้นหัวข้อสาระสำคัญให้ด้วย
งานใช้ได้เลยนะนาย
ตอบลบมีเขียนเองด้วย กรมั่วๆๆๆ
ตอบลบมาเม้นแล้วว เนื้อหาดีมากๆ
ตอบลบเนื้อหาดีมากๆๆๆ
ตอบลบสุดยอด!!!
ตอบลบดีๆ ชักอยากเลี้ยงบ้าง
ตอบลบ