วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความฝัน

ความรู้เรื่องฝัน


คนเรานั้นเมื่อหลับนอนอาจจะมีนิมิต (ฝัน) มาปรากฏในฝันไปในเรื่องต่างๆ อาจจะมีทั้งให้คุณและเกิดโทษจริงบ้างไม่จริงบ้าง อาจจะมีทั้งให้คุณและเกิดโทษจริงบ้างไม่จริงบ้าง นิมิตบอกโชคลาภบ้าง บอกลางร้ายให้รู้ล่วงหน้าก็มี
 
ต้นเหตุของความฝัน(เพราะเหตุใดคนเราถึงฝัน) 4 ประการ

1. บุรพนิมิต ความฝันเกิดจากเรื่องราวในอดีตมาปรากฏให้คนนั้นฝันไป มักเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงมาปรากฏบอกลางหรือโชคลาภ


2. จิตนิวรณ์ ความฝันเกิดเพราะมีอารมณ์จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความฝันอย่างนี้เป็นเพราะอารมณ์จิตใจของผู้ฝันได้ ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างมากตลอดเวลา เมื่อหลับไปก็เกิดความฝันในสิ่งนั้น ในเรื่องนั้น ที่ผู้ฝันฝักใฝ่อยู่ หรือได้ พบเห็นแล้วจดจำโดยไม่มีวันลืม


3. เทพสังหรณ์ ความฝันเกิด ขึ้นเพราะเทวดาบันดาล ความฝันเช่นนี้เป็นเพราะเทวดาผู้ปกปักรักษาคุ้มครองธรรมะ ได้ดลบันดาลให้ผู้ฝันเกิดความฝันไป เพื่อสำแดงแจ้งเหตุการณ์ล่วงหน้า โดยเฉพาะเรื่องมงคล แต่ถ้าเป็นฝันร้าย เรื่องร้ายก็เป็นเหมือนการตักเตือน ผู้ฝันให้ระวังภัยและป้องกัน


4. ธาตุโขภะ ความฝันเกิดเพราะกินมาก นอนมาก จนท้องไส้อืด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ธาตุไม่ย่อย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้เวลานอนหลับไม่สนิทจึงฝันไปไร้สาระไม่มีมูลความจริง หรือให้ประโยชน์แต่อย่างใด
เวลาที่ฝัน


ฝันเวลากลางวัน


ไม่จำเป็นต้องเชื่อฝันกลางวัน(ความฝันที่นิยมถือเป็นความจริงได้ ต้องฝันเวลากลางคืนไม่มีแสงอาทิตย์) อนึ่ง ลาภ ลาภ เป็นของมีค่าหรือเงินทองที่ได้มาโดยไม่คาดฝัน หรือค้าขายได้กำไรมากมายอย่างไม่นึกฝัน โชค หมายถึง คราวหรือจังหวะ ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับดวงชะตาของผู้นั้นเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าได้ระมัดระวังตัวดี แล้วก็จะดีได้
ฝันเวลาหัวคํ่า หรือเวลาสองยาม


เป็นฝันที่ไม่อาจเป็นจริงไปได้ เพราะว่าท้องไส้ไม่ปกติ ทำให้ความฝันวุ่น จิตใจวุ่น แต่ถ้าหลับสนิทบางทีก็จริง
ฝันตอนดึก ประมาณ 4 ทุ่ม ถึงตี 2


เป็นความฝันที่จะปรากฏเป็นความจริงขึ้นมา ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน หรือสองเดือนแน่ๆ

ฝันยามใกล้รุ่ง ตอนตี 2 ถึงสว่าง


เป็นความฝันที่จะเกิดขึ้นเป็นความจริงในเวลา 3 วัน หรือไม่เกิน 15 วัน

 
อิทธิพลตัวเลขกับความฝัน


ความฝัน ของคนเราที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่นมนุษย์หรือสัตว์ หรือกับสิ่งของต่างๆ ตามตำราทำนายฝันส่วน มาก ที่ให้ความหมายของสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวเลข มักจะมีส่วนใกล้เคียงกันอยู่มาก ซึ่งอาจเกิดจากการสังเกต หรือ พิจารณาเอาจากลักษณะรูปร่าง หรือจุดเด่น หรือลำดับของตัวอักษรของสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาเป็นหลักเกณฑ์ โดย ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์มานานหลายชั่วอายุคนแล้วก็ได้ จึงสามารถให้ความเชื่อถือต่อการทดลองเปรียบเทียบ ในลักษณะที่เรียกว่า ใกล้เคียงหรือมีส่วนตรงกับเป้าหมายได้เป็นส่วนมาก




         http://www.google.com/

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 สิงหาคม 2553 เวลา 04:32

    จริงนะเนี่ย เราว่ามันก็เป็นความจริงดีนะ

    ตอบลบ